สูตรน้ำผักผลไม้สกัดเย็นป้องกันมะเร็งลำไส้ และโรคกระเพาะอาหาร

น้ำคั้นกะหล่ำปลีสกัดเย็นช่วยป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ และกระเพาะอาหาร

คนที่เป็นโรคแผลในกระเพาะ หรือ แผลในลำไส้เล็ก หากปล่อยไว้แผลดังกล่าวอาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ในที่สุด ทำให้การรักษามีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ใครที่เป็นแล้ว หรือ กำลังอยู่ในระหว่างการรักษาเกี่ยวกับอาการดังกล่าว ลองพิจารณาข้อมูล ดังต่อไปนี้

มีผักชนิดหนึ่งที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของอเมริกันที่บอกต่อ ๆ กันมา ซึ่งเป็นผลมาจากการค้นพบในปี ค.ศ.1940 หรือ ปี พ.ศ.2483 โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์การ์เน็ตต์ เซนีย์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เป็นผู้ค้นพบว่าน้ำคั้นจากกำหล่ำปลีสดที่ทดลองในหนูตะเภาทำให้แผลในกระเพาะหนูดีขึ้นเกือบ 100%

และได้ทำการทดลองในคน 55 คน พบว่าได้ผลดีถึง 52 คน โดยน้ำกะหล่ำปลีสามารถเร่งให้ แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น 83% และ แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นหายเร็วขึ้น 72% นอกจากนี้ยังมีการทดลองในกลุ่มของนักโทษก็ได้ผลไปในแนวทางเดียวกัน

กลไกการออกฤทธิ์ในกะหล่ำปลี กับโรคกระเพาะอาหาร

ทีมนักวิจัยของ ดร.จี.บี.สิงห์ “ลัคเนาว์” เป็นเมืองเอกของรัฐอุตตรประเทศในประเทศอินเดีย ได้ค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของกะหล่ำปลี โดยทำให้หนูทดลองเป็นแผลในกระเพาะ และใช้น้ำกะหล่ำปลีในการรักษา พบว่ามีสารบางชนิดคล้ายคลึงกับน้ำเมือกเคลือบกระเพาะที่เรียกว่า “มิวซิน”

มิวซินมีหน้าที่ในการเคลือบกระเพาะ ช่วยป้องกันไม่ให้กรดมากัดกระเพาะจนทำให้เกิดแผล หากร่างกายผลิต มิวซิน มากแผลจะหายเร็ว จึงเชื่อว่าสารในน้ำกะหล่ำปลีที่คล้ายกันเป็นตัวช่วยเร่งให้แผลหายเร็วขึ้น

เรามาทำความรู้จักกะหล่ำปลีกันสักนิด

กะหล่ำปลีป้องกันมะเร็งลำไส้

กะหล่ำปลีเป็นพืชพื้นเมืองของชาวยุโรปในโซนอบอุ่น มีประวัติยาวนานกว่า 4 พันปี มีคุณค่าต่อมนุษยชาติทั้งในแง่อาหาร และยา กะหล่ำปลีได้แพร่กระจายไปทั่วโลก จนปัจจุบันเป็นผักสามัญที่คนทั่วโลกรู้จักกันดี กะหล่ำปลีมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. กะหล่ำปลีธรรมดา ใบสีเขียว ออกสีขาวนวล ๆ นิยมปลูกมากที่สุด
  2. กะหล่ำปลีแดง ใบสีม่วงเนื่องจากมีสารแอนโทไซยานินแล้ว ยังมีสาร เอส-เมทิลเมไธโอนีล (S-methylmethionine) หรือ วิตามินยู ทางการแพทย์ใช้รักษา/สมานแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการปวดท้องที่เกิดจากแผลในกระเพาะและช่วยให้น้ำย่อยหลั่งเป็นปกติ กะหล่ำปลีม่วงยังมีสาร อินไทบิน กระตุ้นให้เลือดหมุนเวียนในระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น เช่น ตับ ไต ถุงน้ำดี และกระเพาะ

กะหล่ำปลีม่วง 100 กรัม ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้

  • โพแทสเซียม 243 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 57 มิลลิกรัม
  • แคลเซียม 45 มิลลิกรัม
  • วิตามิน A 1,116 I.U.

ข้อควรระวังในการรับประทาน

พืชตระกูลกำหล่ำ มีสาร Goitrogen (กอยโตรเจน) จำนวนมาก ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ หากรับประทานในปริมาณมาก วันละประมาณ 1,000 – 2,000 กรัม อาจจะทำให้เกิดโรคคอหอยพอกได้ ฉะนั้น จึงควรรับประทานแต่พอดี

สูตรน้ำกะหล่ำปลีสกัดเย็น

คุณค่าอยู่ที่มีวิตามมิน เอ และ วิตามินซี สูง ดังนั้นการรับประทานสดจะดีที่สุด เพราะหากผ่านความร้อนสารสำคัญจะสลายไปบางส่วน กะหล่ำปลีดิบ ย่อยง่ายกว่ากะหล่ำปลีสุก

  • กะหล่ำปลีม่วง ประมาณ 500 กรัม
  • แอปเปิ้ลเขียว 2 ลูก
  • สับปะรด 1-2 ชิ้น หรือ ประมาณ 200-250 กรัม

แอปเปิลทำให้รสชาติของน้ำกะหล่ำปลีชวนดื่มแล้ว ยังมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีนอยู่มากทำให้เราไม่ป่วย ส่วนสับปะรดรสชาติอมเปรี้ยวอมหวาน ยิ่งจะช่วยทำให้น้ำสกัดที่ได้ชวนดื่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยอีกด้วย

วิธีทำน้ำกะหล่ำปลีสกัดเย็น

  • นำกะหล่ำปลีมาแกะออกทีละใบ ๆ
  • ล้างน้ำด้วยน้ำไหลผ่าน 2-3 รอบ แล้วแช่ด้วยผงฟู 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง
  • นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ จะหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อลงในเครื่องสกัดให้ง่ายขึ้น หรือ จะใช้มือฉีกเป็นชิ้น ๆ แล้วทยอย ๆ ใส่เครื่องสกัดก็ได้
  • แอปเปิ้ลนำมาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า 2-3 รอบ และแช่ด้วยผงฟู 20 นาที แล้วล้งด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง
  • นำแอปเปิ้ลมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการสกัด
  • สับปะรดหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อให้สะดวกในการสกัด
  • นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ลงไปในเครื่องสกัดโดยให้ใส่สลับ ๆ กันไป

จะได้น้ำกะหล่ำปลี ประมาณ 500 ซีซี.

ข้อแนะนำในการดื่ม

ควรดื่มในช่วงเช้า หรือ ท้องว่าง เมื่อสกัดแล้วดื่มให้หมดโดยเร็วที่สุด หรือ เก็บไว้ในขวดแก้วแช่ตู้เย็นดื่มให้หมดภายใน 72 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลควรทำดื่มเป็นประจำ และไม่ควรดื่มติดกันเป็นระยะเวลานาน ควรเว้นช่วงบ้าง และทำสูตรน้ำผักผลไม้สกัดเย็นดื่มให้หลากหลาย

ติดต่อเรา
Facebook : Juicer Club
Line : @juicerclub
Phone : 02-454-1465

บทความล่าสุด

JUICERCLUB JUICERCLUB 02-454-1465 Juicerclub@gmail.com